Wednesday, March 14, 2012

ภูมิปัญญาไทยโบราณ - ดอกแคแก้ไข้หัวลม

ในช่วงที่อากาศเริ่มจะเปลี่ยน คนที่ทำงานมาก พักผ่อนไม่เพียงพอจะเป็นโรคไข้หัวลม หรือเป็นไข้ที่เกิดจากอากาศเปลี่ยนฤดูได้ง่าย ๆการกินยาพาราเซ ตามอล ลดไข้ก็รักษาได้ แต่กินมากๆก็จะไม่ดีเท่าไหร่นัก ลองลดความร้อนด้วยการกินดอกแคต้มจิ้มน้ำพริกดู ดอกแคมีวิตามินซีสูง กินแล้วแก้ไข้ได้ชะงัดนัก แต่ถ้าไม่ชอบความขมของดอกแคให้เด็ดเอาเกสรของดอกแคออกให้หมด เพราะดอกแคที่ขมจะขมตรงเกสรเท่านั้น 




 ปลายฝนต้นหนาว อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย วันก่อนอากาศยังร้อนอบอ้าว เมื่อวานนี้กลับมีฝนตก อ้าวไหงวันนี้มีกลิ่นลมหนาวโชย ๆ ซะงั้น ร่างกาย ปรับตัวไม่ทัน ล้มหมอนนอกฟูก (สมัยนี้ไม่ค่อยจะนอนเสื่อกันแล้ว) หนาวสั่น เหงื่อซก อยู่ใต้ผ้าห่มหนา (เพราะนอนห้องแอร์) อัดยาลดไข้กันเป็นแผงๆ แบบบ่มไข้ให้ อยู่หมัด ไข้สร่างแต่ร่างกายทรุด แหมก็เวลาเป็นเงินเป็นทอง ยุคเศรษฐกิจตกสะเก็ด แบบไม่สบายต้องรีบหาย ยังไงก็พึ่งยาลดไข้แก้หวัดไว้ก่อน
ช่วงปลายฝนต้นหนาวแบบนี้ ถ้าเป็นไข้ขึ้นมา บ้านนอกเรียกว่า "ไข้หัวลม" เพราะร่างกายเคยชินกับอากาศร้อน เจออากาศหนาวแรก ก็ปรับตัวไม่ทัน คนบ้านนอก รู้กันว่าต้องแก้ด้วย "แกงส้มดอกแค" ตามบ้านไร่ท้องนา ทั่วไปจะมีต้นแคปลูกไว้ เหมือนธรรมชาติจะรู้วาคนต้องการดอกแคไปแก้ไข้หัวลม ต้นแคจะออกดอกให้ใน ช่วงนี้พอดี

สรรพคุณของแกงส้มดอกแค ทางแพทย์แผนไทย ถือเป็นยาแก้ไข้หัวลม ได้เป็นอย่างดี- น้ำพริกแกงส้ม (ส่วนผสมของ พริกแห้ง หัวหอมแดง และข่า) มีสรรพคุณ ช่วยขับลมในกระเพราะ
- ดอกแค ช่วยช่วยปรับสมดุลในร่างกาย ให้ไข้สร่าง
- มะขามเปียก มีสรรพคุณ ช่วยขับเสมหะ แก้ไอ ลดความร้อน ในร่างกายอันโบราณ ภูมิปัญญาไทย เป็นไข้หวัดก็แก้ได้ ด้วยอาหารพื้นบ้านอย่าง แกงส้มดอกแค นี่แหละ

No comments:

Post a Comment